Monday, May 4, 2009

วิธีทำนายความยาวของอวัยวะเพศชายด้วยหลักการทางสถิติ

หลายคนนั่งเรียน stat ในห้องแล้วไม่ค่อยเข้าใจ โดยเฉพาะเรื่อง linear regression ดังนั้น จึงเห็นสมควรว่า น่าจะมีตัวอย่างโจทย์ที่เป็นรูปธรรมมาให้ศึกษากัน และต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจด้วย
ขอเชิญทุกท่านเสพเนื้อหาวิชาสถิติแนวใหม่ ณ บัดนาว
(คำเตือน เนื่องจากเป็นกระทู้วิชาการ เพราะฉะนั้น กรุณาอย่ามีอารมณ์ตาม ยิงฟันยิ้ม)

วิธีทำนายความยาวของอวัยวะเพศชาย

นักวิทยาศาสตร์พยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของอวัยวะเพศชายกับตัวแปร อื่นๆ เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (body mass index) อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (waist/hip ratio) ความยาวของนิ้วชี้ และ ขนาดของรองเท้า

งานวิจัยแรกทำในประเทศอังกฤษ นักวิทยาศาสตร์สำรวจความยาวของอวัยวะเพศชายในอาสาสมัคร 104 คน อายุระหว่าง 17 ถึง 84 ปี (เฉลี่ย 54 ปี) โดยวัดความยาวของอวัยวะเพศขณะที่ยังไม่แข็งตัว ที่อุณหภูมิปกติโดยวัดทันทีหลังจากที่ถอดกางเกงออก และวัดขนาด (size) ของรองเท้าที่คนคนนั้นสวมใส่ ผลการสำรวจพบว่าสองตัวแปรนี้ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ (correlation coefficient = 0.012) อาสาสมัครมีความยาวอวัยวะเพศขณะที่ยังไม่แข็งตัวระหว่าง 6 ถึง 18 เซนติเมตร (เฉลี่ย 13 เซนติเมตร) ขนาดของรองเท้าที่อาสาสมัครใส่ มีขนาดระหว่าง 5.5 ถึง 13 (เฉลี่ย 9) [1]

งานวิจัยที่สองทำใน ประเทศไนจีเรีย โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของอวัยวะเพศชายขณะที่ยังไม่แข็งตัวกับขนาด ของก้น (วัดจากความยาวรอบสะโพก) และ ดัชนีมวลกาย จากอาสาสมัคร 115 คน อายุระหว่าง 30 ถึง 65 ปี (เฉลี่ย 42 ปี) ผลการสำรวจพบว่าอาสาสมัครมีความยาวของอวัยวะเพศระหว่าง 7.5 ถึง 19.5 เซนติเมตร (เฉลี่ย 13.3 เซนติเมตร) ความยาวรอบสะโพกระหว่าง 73 ถึง 122 เซนติเมตร (เฉลี่ย 98 เซนติเมตร) และดัชนีมวลกายระหว่าง 17.3 ถึง 44.4 (เฉลี่ย 26.เจ๋ง เมื่อคำนวนด้วยวิธี linear regression พบว่าทั้งสามตัวแปรนี้ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [2]

งาน วิจัยที่สามทำในประเทศกรีซ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของอวัยวะเพศชายขณะที่ยังไม่แข็งตัวกับอายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (body mass index) อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (waist/hip ratio) และความยาวของนิ้วชี้ ในอาสาสมัคร 52 คน อายุระหว่าง 19 ถึง 38 ปี (เฉลี่ย 26 ปี) ผลการสำรวจพบว่าอาสาสมัครมีความยาวอวัยวะเพศระหว่าง 9 ถึง 17.5 เซนติเมตร (เฉลี่ย 12 เซนติเมตร) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความยาวของนิ้วชี้ของคนคนนั้น (correlation coefficient = 0.339, P = 0.014) ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับความยาวของอวัยวะเพศ [3]

แล้วทำไมความยาวของนิ้วถึงได้มีความสัมพันธ์กับความยาวของอวัยวะเพศชาย?

ใน สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (รวมทั้งมนุษย์ด้วย) การเจริญของแขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้าและอวัยวะเพศชาย ถูกควบคุมด้วยยีนเดียวกัน ที่ชื่อว่า Homeobox หรือเรียกสั้นๆ ว่า ยีน Hox ดังนั้นรูปร่างและรูปแบบของการเจริญเติบโตของอวัยวะดังกล่าวนี้จึงเจริญไป พร้อมๆ กันและมีอัตราการเจริญเติบโตที่สัมพันธ์กัน [4,5] ข้อมูลนี้จึงใช้อธิบายได้ว่าทำไมความยาวของนิ้วถึงได้มีความสัมพันธ์กับความ ยาวของอวัยวะเพศ

นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าในช่วงที่มนุษย์ยังเป็น ทารกในครรภ์ สามเดือนแรกทารกยังไม่มีการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ พบว่านิ้วชี้และนิ้วนางมีความยาวพอกัน หลังจากนั้นอวัยวะเพศเริ่มมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ เทสโทสเตอโรนในเพศชายและเอสโตรเจนในเพศหญิง ฮอร์โมนเพศมีผลต่อความยาวของนิ้วชี้และนิ้วนาง โดยเฉลี่ยเพศหญิงจะมีนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ในขณะที่เพศชายจะมีนิ้วนางยาวพอๆ กับนิ้วชี้หรืออาจจะสั้นกว่า ดังนั้นตัวแปรความยาวของนิ้วนางและอัตราส่วนความยาวของนิ้วชี้ต่อนิ้วนาง ก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับความยาวของอวัยวะเพศชาย และน่าจะใช้เป็นตัวทำนายความยาวของอวัยวะเพศชายที่แม่นยำกว่าการวัดความยาว ของนิ้วชี้เพียงอย่างเดียว [4,6] (งานวิจัยที่สามไม่ได้วัดความยาวของนิ้วนาง)

หมายเหตุ ค่า correlation coefficient = 0.339 จากงานวิจัยที่สาม ถือว่าสองตัวแปรนั้นมีความสัมพันธ์กันน้อย พล็อตเป็นกราฟออกมาแล้วจะเห็นชัดเจนว่าแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แทบจะลากเส้นกราฟเป็นเส้นตรงไม่ได้ อ่านผลงานวิจัยแล้วต้องพิจารณาให้ดี อย่าถูกหลอกโดยนักวิทยาศาสตร์ที่แปลผลการทดลองเกินจริง

Reference
1. Shah J, Christopher N. Can shoe size predict penile length? BJU Int 2002;90:586-587.

2. Orakwe JC, Ogbuagu BO, Ebuh GU. Can physique and gluteal size predict penile length in adult Nigerian men? West Afr J Med 2006;25:223-225.

3. Spyropoulos E, Borousas D, Mavrikos S, Dellis A, Bourounis M, Athanasiadis S. Size of external genital organs and somatometric parameters among physically normal men younger than 40 years old. Urology 2002;60:485-489.

4. Voracek M, Manning JT. Length of fingers and penis are related through fetal Hox gene expression. Urology. 2003;62:201.

5. Kondo T, Zakany J, Innis JW, Duboule D. Of fingers, toes and penises. Nature 1997;390:29.

6. Manning JT: Digit ratio: a pointer to fertility, behavior, and health. New Brunswick, Rutgers University Press, 2002.

วิศวกรรมอุตสาหการคืออะไร และเขาเรียนอะไรกัน

วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) เป็นวิศวกรรมศาสตร์สาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนา วางแผน ควบคุม การวิจัยดำเนินงาน จัดการและประเมินผลระบบโดยรวมซึ่งครอบคลุมปัจจัยทุกๆด้านทั้ง บุคคล สารสนเทศ อุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ รวมไปถึง การเงิน
วิศวกรรมอุตสาหการเป็นงานทางด้านการประยุกต์ที่เกี่ยวกับการวิจัยดำเนินงาน ทรัพยากรต่างๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานและทรัพยากร เพื่อบรรลุจุดประสงค์การดำเนินงานตามทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการและวิธีการทางด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางวิศวกรรมรวมถึงคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ การตลาด การบริหารการจัดการ สารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา
งานของวิศวกรอุตสาหการ จะเกี่ยวกับ การลดเวลาการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่าย วัสดุ พลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ รวมไปถึงงานการควบคุมคุณภาพของ การผลิตหรือการดำเนินงานเพื่อให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยหากลวิธีต่างๆ ในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุ้มค่าที่สุด
ขณะที่วิศวกรรมสาขาอื่นๆจะเกี่ยวกับทักษะเฉพาะทาง วิศวกรรมอุตสาหการจะถูกใช้อย่างกว้างขวางในงานหลายๆด้าน ทั้งทางอุตสาหกรรมตลอดจนงานบริหารการดำเนินการต่างๆเช่น การจัดการรายได้ เช่น การจองที่นั่งของสายการบิน การจัดการคิวหรือลำดับการบริการของสวนสนุก การวางระเบียบการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่มีขั้นตอนซับซ้อน การบริหารห่วงโซ่อุปทาน การจัดการคลังพัสดุ การบริหารการขนส่งและการกระจายสินค้า ดำเนินการและตรวจสอบการควบคุมคุณภาพการ ผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพหรือวิธีการปฏิบัติงานในโรงงานเพื่อให้ลดค่าใช้จ่าย ที่ไม่จำเป็นและคุณภาพที่สม่ำเสมอของสินค้าโดยการลด ของเสียทั้ง 7 เช่น การรอคอย การผลิตที่เกินความจำเป็น รวมไปถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการใหม่ๆ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน อัตราการคืนทุน
ถึงแม้คำว่า “วิศวกรรมอุตสาหการ” จะถูกใช้เพื่อสื่อถึงงานทางด้านการผลิตในโรงงาน แต่ในปัจจุบันขอบข่ายของงานได้ครอบคลุมไปถึงงานด้านอื่นรวมถึง ธุรกิจการให้บริการ สาขาอื่นๆที่ใกล้เคียงกับวิศวกรรมอุตสาหการได้แก่ การวิจัยดำเนินงาน การบริการการจัดการ วิศวกรรมระบบ วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมคุณภาพ เออโกโนมิค วิศวกรรมการบำรุงรักษา วิทยาการบริหารจัดการ วิศวกรรมความปลอดภัย การจัดการวิศวกรรม
ที่มา: Wikipedia

เรียนวิศวกรรมคุณภาพที่ไหนดี ระหว่าง บางมด และจุฬาฯ

ในประเทศไทยตอนนี้มีอยู่ที่เดียวครับ คือ ที่บางมด เจ๋งสุดๆ โดยเฉพาะ รศ. กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ ท่านนี้ขอบอกว่าเป็นกูรูทางด้านคุณภาพของเมืองไทยเลยทีเดียว คงรู้จักกันดีนะครับสำหรับอาจารย์ท่านนี้มีชื่อเสียงมากในวงการอุตสาหกรรม ถ้าใครอยู่ในสายงานคุณภาพผมเชื่อว่าคงรู้จักทุกคนอยู่แล้ว แต่มีเฉพาะแค่ป. โทนะครับ เรียนบางมด บรรยากาศการเรียนก้อใช้ได้ แต่ถ้าไม่มีพิ้นฐาน ด้าน สถิติ หรือ วิศวกรรม ต้อง ปรับพื้นตัดเกรดกับเด็ก ปตรี ก่อน แต่ถ้าหากถ้าอยากเรียนทางด้าน OR , Management , Ergo แนะนำจุฬาฯ

บางมด # ที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มีหลักสูตร ป.โท เป็นภาคนอกเวลาราชการทั้งหมดหมด ดังนี้
- วิศวกรรมระบบการผลิต (ภาคนอกเวลาราชการ) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รวมกันระหว่างด้านการผลิตกับด้านการบริหารระบบโรงงาน
- วิศวกรรมโลหการ (ภาคนอกเวลาราชการ)
- วิศวกรรมการเชื่อม (ภาคนอกเวลาราชการ)
- วิศวกรรมคุณภาพ (ภาคนอกเวลาราชการ)
และมี ป.เอก สาชาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต

จุฬา # ที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มีหลักสูตร ป.โท ดังนี้
- วิศวกรรมอุตสาหการ (ภาคปกติ) ซึ่งเป็นหลักสูตรตามแนวทางของวิศวกรรมอุตสาหการ
- วิศวกรรมอุตสาหการ (ภาคนอกเวลาราชการ)
และมี ป.เอก สาชาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการด้วย

ต้องการเรียน ภาคอุตสาหการ ภาคนอกเวลาราชการเท่านั้น
ซึ่งจุฬา ภาคนอกเวลาราชการ ไม่จำกัดเกรด แต่ต้องการมีประสบการณ์ทำงาน 1 ปี
ส่วนบางมด ถ้ามีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 2.5 ไม่ต้องมีประสบการณ์ทำงาน
แต่ถ้าเกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ต้องมีประสบการณ์ทำงาน

แต่การสอบเข้า ป.โท มันมีความยืดหยุ่นสูง ทุกที่หลักเกณฑ์มีความยืดหยุ่นเสมอ
ถ้า จขกท สนใจอยากเรียน แต่คุณสมบัติไม่ผ่าน ให้ลองไปสมัครดูไว้
เพราะบางทีเราอาจจะได้เรียนก็ได้ แต่ต้องสัมภาษณ์ดีๆ นะ โอกาสได้เรียนมีสูง

ส่วนที่บอกว่าอยากเรียนสาขาที่เน้นด้านบริหาร ก็แนะนำให้เรียน วิศวกรรมคุณภาพ บางมด
เพราะเป็นหลักสูตรที่มีรายวิชาที่เกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการที่เยอะกว่าวิศวอุตสาหการโดยทั่วไป

การเรียน ป.โท นั้น ที่ขาดไม่ได้คือ ต้องทำงานวิจัยก่อนจบ จะเป็นการฝึกทักษะด้านการค้นคว้าวิจัย
ก็ให้ทำใจไว้ว่าค่อนข้างยาก ต้องมีความพยายาม ถึงจะเรียนจบ ป.โทได้นะ
ผมเชื่อว่าถ้าตั้งใจ อยากเรียนแล้ว ต้องเรียนจบได้แน่นอนนะครับ

Sunday, May 3, 2009

การควบคุมด้วยประสาทสัมผัส

Q & A : 5
ถาม : การควบคุมด้วยประสาทสัมผัส หรือ Visual Control ทำอย่างไรครับสงสัยจริงๆ แล้วทำไมจึงแปลคำว่า Visual ว่าประสาทสัมผัสล่ะครับทั้งๆที่จริงมันควรจะแปลว่าการมองเห็นไม่ใช่หรือครับ
ตอบ : Visual Control หมายถึง ระบบของสิ่งที่ต้องการดูแล จะได้รับการแสดงออกมาให้สามารถสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นด้วยตัวมันเอง และจะต้องแจ้งเตือนให้ทราบถึงความผิดปกติดังกล่าวโดยสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ทั้งนี้คนจะต้องรีบเข้าไปแก้ไขถึงความผิดปกติดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาหรือความสูญเสียล่วงหน้า แต่จุดอ่อน ของ Visual Control ก็คือ จุดที่ต้องอาศัยคนในการตรวจจับความผิดปกติคนเป็นสัตว์ที่มีการรับรู้ต่ำ เนื่องจาก

ขาดสมาธิ

ขาดความระมัดระวัง

ความจำสั้น

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ระดับของจิตใจ ของคนมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้

คนจึงไม่สามารถตัดสินใจความผิดปกติได้ด้วยตนเอง

แต่จะทำอย่างไรให้สิ่งที่ต้องการควบคุมดูแลบอกให้คนทราบถึง ความผิดปกติที่ได้เกิดขึ้น

หัวใจของการควบคุมด้วยการมอง ก็คือจะต้องแสวงหาความสะดวกสบายให้กับคน

การจะทำให้เกิดความสะดวกสบายในการตรวจจับความผิดปกติ จะต้องยึดมั่นในองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่

1. จะต้องทำให้สิ่งที่ต้องการควบคุมไม่มีความกำกวม

2. ทำให้เห็น ทำให้เข้าใจ - ทำให้แจ้งเตือน ทำให้ต้องเข้าไปแก้ไข

3. หากไม่มีความสนใจ จงทำให้สิ่งนั้นมองไม่เห็น

4. ความสามารถในการแก้ปัญหา

มาตรการที่ทำให้การควบคุมด้วยการมองทำหน้าที่ได้อย่าเต็มที่

  1. แสวงหาความง่ายในการมอง

ทำให้เห็นได้ / ทำให้มองเห็น / ทำให้หันหน้าออกมา / ทำให้ไม่ยุ่งยาก

  1. แสวงหาความง่ายในการมอง

ใช้ปริมาณเป็นตัววัด

ใช้สีแยกแยะ

ใช้จินตนาการในการแยกแยะ

  1. แสวงหาวิธีกระตุ้นให้เข้าแก้ไข

ระบบที่ดึงความสนใจ

ทำให้ตกใจ ที่สภาวะไม่ปกติ

คำว่า Visual ในยุคหลังมิได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่การรับรู้ด้วยสายตาอีกต่อไป แต่จะหมายถึงการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่

ดวงตา

หู

จมูก

ผิวหนัง

ลิ้น

ตา อยากจะเห็นแต่ของสวยๆ งามๆ
ลิ้น ก็อยากลิ้มรสแต่ของอร่อย
สัมผัส ก็อยากสัมผัสของที่ดี นุ่มนิ่ม
จมูก ก็อยากได้กลิ่นหอม กลิ่นอาหารที่หอม
หู อยากฟังแต่สิ่งที่ไพเราะ คำสรรเสริญ


Saturday, May 2, 2009

เงินเดือนวิศวกรใหม่ - New Update 2009

New Update ปี 2009 - เงินเดือนวิศวกรจบใหม่

เงินเดือนของแต่ละบริษัทสำหรับวิศวกรใหม่ ( ผู้จบใหม่ )
ทุกบริษัทสำหรับประสบการณ์ไม่มีนะครับ
Copy มาอีกทีครับ

ทั่วไป
1. Hitachi Global storage ปราจีนบุรี 17000 + 6000 Bonus 1(Fix) + 2-4 (Variable) => Hardisk Drive manufacture Japan
2. CP Poly industry นครราชสีมา 16000 => กระสอบอุตสาหกรรม TH
3. PCTT นวนคร 17000 Bonus 2-4 (Variable) => แผงวงจรอิเล็คทรอนิคส์ JP
4. Mitsubishi Motor ชลบุรี 16000 Bonus 6+13000 => Motor Assembly JP
5. Toyota Motor สมุทรปราการ 18000 Bonus 6.5 + 12000 (Data 2002 -2006 Min 5.5 Max 11) Require TOEIC Score 500 For Engineer level => Motor Assembly JP
6. Sony Device Technology ปทุมธานี 18590 Bonus 3 TOEIC Not Require But if you have more than 450 plus 1000 Bt Up => Semiconductor Assembly JP
7. DENSO International สมุทรปราการ เทพารักษ์ 16800 Bonus 6.5+12000 (Data 2002- 2006 Min 6.0 Max 10.5 ) Head Quarter of DENSO Group Require TOEIC Score 450 For Engineer Level => Headquarter office JP
8. Denso Thailand สมุทรปราการ เทพารักษ์ 16800 Bonus 6.5+ 7000 => Automobile Electronics part JP Require TOEIC Score 450 For Engineer Level
9. Siam DENSO อมตะนคร ชลบุรี 16800 Bonus 6.5 + 7000 Like Toyota => Automobile Commonrail assembly JP Require TOEIC Score 450 For Engineer Level
10. Isuzu Motor สมุทรปราการ 15000 Bonus 6.0+5000 => Automobile Assembly JP Require TOEIC Score 450 For Engineer Level
11. PTT 18000 Bonus 7.5 => Petroleum Headquarter office TH Require TOEIC Score 500 For Engineer Level
12. PTT Chemical 35000+10000 Bonus 4 => chemical TH Require TOEIC Score 750 For Engineer Level
13. PTTEP 24000 Bonus 4 => Search and empower petroleum TH Require TOEIC Score 750 For Engineer Level
14. Unocal 45000 Bonus 6 => Search and empower petroleum NA(North America) Require TOEIC Score 750 For Engineer Level
15. Honda Automobile โรจนะ อยุธยา 17500 Bonus 6+12000
16. Western Digital Hi-tech Ayuthaya 18000 Bonus 2.5
17. Canon Hi-Tech Ayuthaya 17500 Bonus 2.5
18.Thai Honda Manufacturing เงินเดือน10200+อื่นๆ5500 โบนัส 6.5-7 +20000
19.Thai Samsung 16500 Bonus 2.5 แต่โอทีกระจายเดือนหนึ่งอาจถึง30000
20.DAIKIN INDUSTRY 16700+800+อื่นๆเกือบ20000 น่าสนใจครับโบนัส 4-5เดือนโอทีเยอะ
21.LG 17XXX+ค่าเช้าบ้าน+ค่าบ้านนอก+เบี้ยขยัน(อันนี้ได้เยอะกว่าทุกบริษัทประมาณ1000-3000)
22.Thai Summit Group 16000 โบนัส 4.4 เช่น Thai Summit Auto Part 16000 โบนัส 4-4.4
23.Thai Yamaha Motor 15000 Bonus 4-5 ****ตอนนี้TOYOTA Take Over เรียบร้อยอีกสักพักทุกอย่างเงินเดือนสวัสดิการจะเท่าๆโตโยต้า ใครเข้าได้ก็รีบเข้านะครับ
24.ซิเลนติก้า 20000 โบนัส 2 เดือน
25.GM 25000-30000 โบนัส 5-7 ถ้าคุณเจ๋งจริงค่อยสมัคร
26.BMW 30000 โบนัส 4-5
27.สหวิริยา 20000
28.กลุ่ม CP 18000 มีที่พักฟรีห้องแอร์ โบนัส2เดือน
29.ซัมมิต ออโตซีท 18000 โบนัส 4
30.NISSAN 16000 Bonus 4-5
31.Auto alliance (Ford&Mazda) 24000 โบนัส 5-6

ย่านนิคมนวนคร(ปทุมธานี)
1. บริษัท ROHM
-เงินเดือน ประมาณ 16,000 โบนัส ประมาณ 2-3เดือน
- สัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ
2. SEIKO
- เงินเดือนประมาณ 16,500 โบนัส 2.5
- สัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ
3. บริษัท NIDEC
- เงินเดือนประมาณ 16,000 UP โบนัส 2.5 เดือน
4. Mineabea เงินเดือน 15,000 โบนัส 2.5 เดือน
- สัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ
5. บริษัท Magnecomp 17,000 โบนัส 1 เดือน
- สัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ
6. DDK fujikura เงินเดือน 16,000 โบนัส 2.5 เดือน

ย่านนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค(อยุธยา)
1. บริษัทไทยลิฟท์อินดัสตรีส์จำกัดมหาชน
- เงินเดือน 15,000 โบนัส 1 เดือน
2. บริษัทอาปิโก ไฮเทค
- เงินเดือน 10,000 แต่ปรับดีมากหลังจากผ่านการทดลองงานแล้ว
- โบนัส 3-4 เดือน
3. Pemstar
- เงินเดือน ประมาณ 14,000 โบนัส 1 เดือน
4. Canon hitech
เงินเดือน 15,000 โบนัส 2.5 เดือน
5. Sony technology
เงินเดือน 17,000 โบนัส 2.5 เดือน

ย่านรังสิต
1.บริษัท ซูซูกิ
- เงินเดือน 14,500 โบนัส ประมาณ 2-3 เดือน
2. บริษัทบริดสโตน (รังสิต, วังน้อย)
-เงินเดือน 18,000 โบนัส สูง

ย่านกรุงเทพฝั่งธน(เพชรเกษม)
1. บริษัทไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์
- เงินเดือน 15,000 โบนัสประมาณ 2-3 เดือน

ย่านนิคมเวลโก (ฉะเชิงเซา)
1.บริษัท NHK สปริง
- เงินเดือน 14,000 โบนัส 6 เดือนขึ้นไป
2. YSP ทำท่อไอเสีย 13,500 ค่าน้ำมัน 1.75 บาท/กม. โบนัส 6

ย่านสมุทรปราการ
1.บริษัทยานภัณฑ์ ทำท่อไอเสีย
- เงินเดือนประมาณ 16,500
2.ไทยศิลป์อาคเนย์อิมปอร์ตเอ็กปอร์ต การ์เมนต์
- เงินเดือนประมาณ 12,000
3. บริษัทไทยสตีลเคเบิ้ล ทำสายเคเบิ้ล ในรถยนต์
- เงินเดือนประมาณ 11,000 โบนัส 2-4 เดือน
4.บริษัทKOITO
- เงินเดือนประมาณ 15,000
5.บริษัท เอ็นไก ล้อแมก
-เงินเดือนประมาณ 14,000
6.บริษัทเดลต้าอีเล็คทริค ทำชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์
- เงินเดือนประมาณ 12,000

ย่านอมตะนคร ชลบุรี
1. Mitsubishi electric consumer product ทำแอร์
- เงินเดือนประมาณ 17,000
2. siam kayaba ทำโช๊ครถยนต์
- เงินเดือนประมาณ 15,000
3. Siam rack riken 14,000
4. Cherry serina 14,000

เงินเดือนทั้งหมดที่ชี้แจงเจาะจงเฉพาะเด็กจบใหม่นะครับและยังไม่รวม OT
ดูเอาไว้เพื่อศึกษานะครับ
ไม่รู้ตรงหรือเปล่า
ใครรู้มากกว่าก็โพสต่อนะ

ใครว่า 5ส เป็นเรื่องง่ายๆ

Q & A : 4
ถาม : ที่ทำงานผมเคยทำ 5ส มาก็หลายครั้งนะครับ แต่ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นเลยนอกเสียจากสถานที่ทำงานดูเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นเท่านั้นแต่พอผ่านไปสักพักทุกอย่างก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม จนทุกวันนี้ไม่คิดอยากจะทำเลยครับ (หากไม่มีใครมาบังคับ)

ตอบ : เวลาผมบรรยายที่ไหนก็ตามผมมักจะเปรียบเทียบ 5ส เหมือนกับเมล็ดพันธ์ที่ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะ กว่าจะหว่าน กว่าจะโต จนกระทั่งเก็บเกี่ยวได้ เราจะต้องคอยเฝ้าดูแลเอาใจใส่ถึงปัจจัยต่างๆเป็นอย่างดี หากไม่เช่นนั้นแล้วเมล็ดพันธ์ที่เราได้ปลูกเอาไว้ก็คงจะไม่สามารถออกดอกออกผลให้เราได้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ สำหรับ 5ส ก็เช่นกันครับ เปรียบเมล็ดพันธ์เหมือนกับคนทำงานนี่แหละครับ หากอยากให้เขาทำงานให้เราได้ดีๆจำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเขาด้วยเช่นกัน แล้วจะสร้างกันอย่างไร ก็ไม่ยากครับแต่จะต้องกลับไปที่พื้นฐานของคนก่อน ความต้องการของคนเรานั้นจริงๆแล้วแ่บ่งเป็นลำดับชั้นตามหลักของมาสโลค์ (Hirachy of Needs) ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ ความปลอดภัย ความมีส่วนร่วม ความมีเกียรติ์ และความสำเร็จในชีวิต ลองคิดดูนะครับ หากคนท้องยังหิวก็คงไม่ต้องการหรอกเรื่องความปลอดภัยมั่นคงในชีวิต จริงไหมครับ ขโมยมันจึงมีให้เกลื่อนไง ดังนั้นหากเราเข้าใจหลักการดังนี้แล้วก็จงค่อยๆตอบสนองต่อความต้องการของคนเติมเต็มไปทีละขั้น โดยกิจกรรม 5ส ถือเป็นกิจกรรมในสถานประกอบการที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกของคนในระยะยาว แต่หลายๆคนมักจะเข้าใจผิดคิดว่า 5ส เป็นเรื่องของความสะอาด ความน่าอยู่ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานเท่านั้น ดังคำกล่าวที่มักจะพูดกันติดปากว่า "หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูงามตา" ก็ดีครับแต่ยังดีไม่พอถ้าจะทำเพียงแค่นี้ กล่าวคือจุดมุ่งหมายของการทำ 5ส ที่แท้จริงแล้วก็คือ เราอยากให้สถานที่การทำงานของเราเป็นสถานที่การทำงานที่โปร่งใส สามารถมองทะลุเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเฝ้าระวังหรือสังเกตุกันอย่างใกล้ชิด เพียงแค่ความผิดปกติเพียงแค่เล็กน้อยเกิดขึ้นเท่านั้นมันก็จะแสดงออกมาให้เรารับรู้ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้คนทำงานเข้าสู่กระบวนการแก้ไขได้อย่างทันทีทันใด แต่อย่างไรก็ตามหากคนสามารถรับรู้แล้วตรวจจับความผิดปกติได้ แต่เพิกเฉยต่อการแก้ปัญหา ก็คงไม่มีประโยชน์ใดๆเลยที่จะทำให้สถานประกอบการมีความโปร่งใส ดังนั้นคนจึงเป็นหัวใจของความสำเร็จของ 5ส ครับ ดังนั้นพวกที่กำลังทำ 5ส ต้องใจเย็นๆครับ ผมมีข้อสังเกตุดังนี้ครับหากใครที่คิดว่าทำ 5ส มาตั้งนานแล้วไม่สำเร็จสักที ผมเองไม่ได้คาดหวังอะไรมากมายจากความสะอาดหรือความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่เกิดขึ้น แต่ผมจะถามพนักงานอยู่เสมอว่าขณะที่เราทำความสะอาดอยู่นั้นเราได้เรียนรู้อะไรจากสภาพความสกปรกที่เกิดขึ้น แล้วจะทำอย่างไรไม่ให้เราต้องกลับมาทำความสะอาดมันอีก หากทำสำเร็จแล้วตัวเราเองจะสบายขึ้นอย่างไร หากเขามีวิธีคิดอย่างนี้ได้แล้วรับรองได้เลยครับว่าโอกาสที่จะทำ 5ส สำเร็จนั้นอยู่ไม่ไกลแน่นอนครับ

Friday, April 24, 2009

คุณภาพคือความเหมาะสมต่อการใช้งาน

Q & A : 3 (ตอนที่สอง)
ถาม: ผมสงสัยว่า
"คุณภาพ" แท้จริงแล้วมีความหมายว่าอย่างไร ผมอ่านหนังสือมาหลายเล่มก็ให้นิยามไว้ไม่เหมือนกันเลย ???

ตอบ: ปรมจารย์จูแรนได้นิยามคำว่าคุณภาพไว้ดังนี้ครับ

Joseph M. Juran: "Fitness for use."[4] Fitness is defined by the customer.

แปลเป็นไทยว่าคุณภาพคือความเหมาะสมต่อการใช้งาน โดยความเหมาะสมดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดโดยลูกค้าครับ นิยามสั้นๆแต่ต้องอธิบายกันยาวหน่อยถึงจะเข้าใจ

บ้างก็ว่าลูกค้าคือพระเจ้า บ้างก็ว่าลูกค้าคือ King แต่ในความหมายของจูแรนนั้นลูกค้าก็คือปิศาจ กล่าวคือลักษณะของลูกค้าแท้จริงแล้วมักจะจู้จี้ จุกจิก ขี้โวยวาย และเอาแต่ใจตัวเองเป็นที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งก็คือลูกค้านั้นมีความต้องการที่ไม่เคยเหมือนและไม่ซ้ำกันเลยต่างคนต่างอยากได้แต่ละอย่าง แต่ในอดีตนั้นสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาดมีให้เลือกไม่มากนักจึงจำยอมต้องซื้อไปใช้งานก่อน ผู้ผลิตก็จึงผลิตงานซ้ำๆเป็นจำนวนมากที่ไม่มีความหลากหลายมากนัก เช่นในสมัยก่อนถ้าผมอยากได้โทรศัพท์มือถือซักเครื่องก็คงจะมีสินค้าให้เลือกไม่มากนักจะมีก็แต่รุ่นกระติกนำ้ราคาเรือนแสน แต่ย้ำนะครับว่าผมอาจจะอยากได้แบบอื่นที่โดนใจผมมากกว่าแต่ในขณะนั้นมันไม่มีให้เลือกไงครับจึงจำยอมต้องซื้อมันมาใช้ ถามว่าใช้แล้วพอใจหรือเปล่า ก็ไม่แน่หรอกครับเครื่องก็โครตใหญ่ ชาตแบตก็นาน พกพาก็ลำบาก คลื่นก็ไม่ค่อยมี สายหลุดก็บ่อย ดีอย่างเดียวคือมันเท่ใช้แล้วหล่อมั่กมั่ก โชว์สาวได้ แสดงถึงฐานะของคนชั้นสูง เห็นไหมครับผมมีข้อติเยอะแยะขึ้นอยู่กับว่าตอนที่ผมใช้งานนั้นผมไปเจออะไรมาหรือใช้งานภายใต้เงื่อนไขอย่างไร ดังนั้นแล้วลูกค้ามีเรื่องราวต่างๆในใจมากมายซึ่งไปพบเจอมาระหว่างการใช้งานแต่ไม่รู้จะแสดงออกอย่างไร หากผู้ผลิตจับจุดตรงนี้ของลูกค้าได้ก็จะสามารถออกแบบเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานของลูกค้าแต่ละคนได้ รู้อย่างนี้แล้วลองกลับมาดูโทรศัพท์มือถือในทุกวันนี้สิครับจะเห็นว่าปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายรุ่นหลายยี่ห้อจนตาลายเลือกไม่ถูก เหตุเพราะว่าผู้ผลิตนั้นเข้าใจกับนิสัยที่แท้จริงของลูกค้ามากขึ้น จึงพยายามออกแบบและผลิตสินค้าหรือบริการให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้า (แต่ละคน) ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก

นิยามคุณภาพ

Q & A : 3
ถาม: ผมสงสัยว่า
"คุณภาพ" แท้จริงแล้วมีความหมายว่าอย่างไร ผมอ่านหนังสือมาหลายเล่มก็ให้นิยามไว้ไม่เหมือนกันเลย ???
ตอบ:
ผู้ที่ถามคำถามนี้น่าจะเป็นผู้ที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพมาเยอะมากนะครับ จึงเห็นนิยามเยอะจนตาลายไปหมด แต่ไม่เป็นไรครับผมได้คัดลอกนิยามคุณภาพตามมุมมองของกูรูหลายๆท่านมาให้ลองเปรียบเทียบกันดูนะครับ (อ้างอิงข้อมูลจาก Wikipedia) ผมคิดว่าท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยเหมือนผมและผู้ที่ถามคำถามนี้ว่าแล้วเมื่อไหร่ผมจะใช้นิยามไหนดีล่ะ คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นกำลังพูดถึงคำว่าคุณภาพในบริบทไหน อีกซักเดี๋ยวเราจะกลับมาวิเคราะห์กันอีกทีนะครับ ก่อนอื่นอยากให้ผู้อ่านลองทำความเข้าใจกับนิยามของกูรูแต่ละคนก่อนนะครับ

Quality Definitions

The common element of the business definitions is that the quality of a product or service refers to the perception of the degree to which the product or service meets the customer's expectations. Quality has no specific meaning unless related to a specific function and/or object. Quality is a perceptual, conditional and somewhat subjective attribute.

The business meanings of quality have developed over time. Various interpretations are given below:

  1. ISO 9000: "Degree to which a set of inherent characteristics fulfills requirements."[1] The standard defines requirement as need or expectation.
  2. Six Sigma: "Number of defects per million opportunities."[2]
  3. Philip B. Crosby: "Conformance to requirements."[3][4] The requirements may not fully represent customer expectations; Crosby treats this as a separate problem.
  4. Joseph M. Juran: "Fitness for use."[4] Fitness is defined by the customer.
  5. Noriaki Kano and others, present a two-dimensional model of quality: "must-be quality" and "attractive quality."[5] The former is near to "fitness for use" and the latter is what the customer would love, but has not yet thought about. Supporters characterize this model more succinctly as: "Products and services that meet or exceed customers' expectations."
  6. Robert Pirsig: "The result of care."[6]
  7. Genichi Taguchi, with two definitions:
    a. "Uniformity around a target value."[7] The idea is to lower the standard deviation in outcomes, and to keep the range of outcomes to a certain number of standard deviations, with rare exceptions.
    b. "The loss a product imposes on society after it is shipped."[8] This definition of quality is based on a more comprehensive view of the production system.
  8. American Society for Quality: "A subjective term for which each person has his or her own definition. In technical usage, quality can have two meanings:
    a. The characteristics of a product or service that bear on its ability to satisfy stated or implied needs;
    b. A product or service free of deficiencies."[4]
  9. Peter Drucker: "Quality in a product or service is not what the supplier puts in. It is what the customer gets out and is willing to pay for."[9]
  10. W. Edwards Deming: concentrating on "the efficient production of the quality that the market expects,"[10] and he linked quality and management: "Costs go down and productivity goes up as improvement of quality is accomplished by better management of design, engineering, testing and by improvement of processes."[11]
  11. Gerald M. Weinberg: "Value to some person".
เป็นอย่างไรบ้างครับพอจับประเด็นอะไรได้ไหม ผมจะพยายามอธิบายแนวความคิดของคำว่าคุณภาพในมุมมองของกูรูแต่ละท่านในโอกาสถัดไปครับ สำหรับในหัวข้อต่อไปผมขออนุญาติหยิบเอานิยามของจูแรนมาอธิบายนะครับ เหตุผลก็เพราะว่านิยามดังกล่าวสามารถสะท้อนถึงแนวความคิดทางด้านคุณภาพในทุกมุมมอง โปรดติดตามตอนต่อไป อิอิ

Thursday, April 23, 2009

ประเภทปัญหา

Q & A : 2
ถาม: ทำไมเราต้องจำแนกประเภทของปัญหาด้วยล่ะครับ ผมเข้าใจว่าปัญหาก็คือปัญหา หากแก้ปัญหาได้ก็จบไม่ใช่หรือครับ???
ตอบ: หากตอบคำถามนี้แบบกำปั้นทุบดิน ก็ขออธิบายแบบนี้นะครับว่า หากเราไม่ได้จำแนกแยกแยะประเภทของปัญหาก่อนลงมือแก้ไขแล้วล่ะก็ ผลลัพธ์ของการแก้ไขก็มักจะผิดทิศผิดทางหรือหากแก้ไขก็มักจะเป็นแบบขอไปทีเพื่อให้ปัญหานั้นพ้นๆตัวไป ปัดความรับผิดชอบ โยนไปให้คนอื่นบ้าง (เอ๊ะ!! คล้ายๆกับนักการเมืองไทยจัง) ดังนั้นหากเราจำแนกปัญหาให้ถูกต้องก่อนลงมือแก้ไข ก็จะทำให้เราสามารถกำหนดแนวทางหรือมาตรการตอบโต้ได้อย่างชัดเจนขึ้น อีกทั้งยังกำหนดผู้รับผิดชอบได้เหมาะสมต่อสภาพปัญหา ตลอดจนการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาก็จะมีความถูกต้องแม่นยำขึ้นอีกด้วย

ปัญหา 2 ประเภท
จริงๆแล้วมีปรมจารย์หลายๆท่านได้นิยามประเภทปัญหาไว้ต่างกรรมต่างวาระกันไป แต่ผมขออ้างอิงนิยามของท่านอาจารย์ Juran นะครับ เหตุผลก็เพราะว่านิยามของจูแรนนั้นอธิบายในเชิงมนุษย์ได้ดี จูแรนได้แบ่งปัญหาในโลกนี้ออกเป็นสองประเภทครับได้แก่
1. ปัญหาครั้งคราว (Sporadic) และ
2. ปัญหาเรื้อรัง (Chronic)
ผมขออธิบายรายละเอียดของปัญหาทั้งสองดังนี้ครับ

ปัญหาครั้งคราว ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่ามันเกิดขึ้นไม่บ่อย นานๆเกิดที ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่หากเกิดแล้วส่วนใหญ่เกิดผลเสียหายร้ายแรงนะครับ เช่นไฟใหม้โรงงาน คุณหมอลืมกรรไกรไว้ในท้องคนไข้ี้ เห็นไหมครับว่าแต่ละอย่างนั้นหนักๆทั้งนั้นเลย แต่ข้อดีของปัญหานี้ก็คือมันมีทางแก้ไข ป้องกันหรือทำให้หมดไปได้ครับ โดยคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น นั่นคือผู้ที่อยู่หน้างาน โดยจะต้องฝึกให้คนหน้างานรู้จักการเฝ้าระวังปัญหาโดยสังเกตุความผิดปกติของสภาวะหรือสภาพการทำงานของตนเอง การที่จะทำให้คนเหล่านี้ตรวจจับความผิดปกติได้เก่งๆจะต้องทำให้สถานที่การทำงานนั้นโปร่งใสเสียก่อน อะไรผิดปกติไปก็จะรับรู้ได้อย่างรวดเร็วแล้วนำไปสู่การแก้ไขความผิดปกติเเหล่านั้นโดยทันทีก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น โดยผมจะขอกล่าวถึงการแก้ปัญหาประเภทนี้โดยละเอียดอีกทีนะครับ (ติดตามได้ในหัวข้อ ใครว่า 5ส. เป็นเรื่องง่ายๆ)

ปัญหาเรื้อรัง ปัญหาประเภทนี้เรียกกันอีกอย่างว่าปัญหาเชิงระบบครับ ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะว่าลักษณะของการเกิดมันเป็นไปโดยธรรมชาติครับเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างเช่น ความล้าของคน การสึกหรอของเครื่องจักร เป็นต้น หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าแล้วจะแก้ปัญหาประเภทนี้อย่างไรล่ะในเมื่อมันต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว ถูกต้องแล้วครับทุกอย่างมีทางแก้แต่เราต้องเข้าใจธรรมชาติของปัญหาประเภทนี้่ให้ดีเสียก่อน ซึ่งก็คือการเกิดขึ้นของปัญหาดังกล่าวนี้สามารถคาดการณ์ได้ ถึงแม้จะแก้ไขให้หมดไปไม่ได้แต่ทำให้น้อยลงได้ และนี่คือกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาประเภทนี้ครับ กล่าวคือเราจะต้องเข้าไปดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขธรรมชาติของระบบโดยการปรับปรุงเงื่อนไขหรือสภาวะบางอย่างที่เกี่ยวข้อง แต่การดำเนินการอย่างนี้จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนหรือการใส่ทรัพยากรบางอย่างเพิ่มเติมเข้าไป ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจึงต้องเป็นผู้ที่เข้ามาดูแลปัญหาประเภทนี้อย่างใกล้ชิด

กล่าวโดยสรุปนะครับว่าการแยกแยะปัญหานั้นมีความสำคัญมากเนื่องจากวิธีการจัดการกับปัญหาทั้งสองประเภทนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ หากเราไม่รู้ว่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาประเภทไหน การแก้ไขก็จะเป็นไปอย่างไม่มีทิศมีทางครับ หรืออย่างนักการเมืองไทยไงล่ะ ฮิฮิ......

Monday, April 20, 2009

ปัญหาคืออะไร

Q & A : 1
ถาม: จริงไหมครับที่คนเราคนเรามักสับสนระหว่าง
ปัญหาคืออะไร?? และ อะไรคือปัญหา??
ตอบ: ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ อยากให้พวกเราลองคิดดูเล่นๆนะครับว่า หากมีใครซักคนมาถามเราว่าวันนี้มีปัญหาอะไรไหม คำตอบที่จะได้ออกมานั้นคงมากมายเลยใช่ไหมครับ เพราะเราคงคิดถึงว่าในวันนี้นั้นเราไปเจอกับเหตุการณ์อะไรมาบ้างที่เป็นอุปสรรค และทำให้เราต้องลำบากเดือดร้อน พอคิดได้ดังนั้นเราก็จะรู้สึกว่าสิ่งที่สร้างปัญหาให้เรานั้นมากมายก่ายกองเลยใช่ไหมครับ ผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น วันนี้ผมตื่นสาย หนำซ้ำตอนออกจากบ้านก็ไปเจอรถติดเข้าอีก จึงทำให้วันนั้นผมไปทำงานไม่ทัน ครับด้วยเหตุการณ์อย่างนี้ผมขอถามท่านผู้อ่านหน่อยนะครับว่าอะไรคือปัญหาในเหตุการณ์ดังกล่าว
คิด หนึ่ง สอง สาม..........

คำตอบที่ได้น่าจะเป็นดังนี้หรือไม่???

1. ตื่นสาย
2. รถติด
3. ทำงานไม่ทัน

แน่นอนครับ เราคงไม่อยากตื่นสาย ไปเจอรถติด หรือไปทำงานไม่ทันหรอกนะครับ เพราะเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ก็คืออุปสรรคที่ทำให้เราต้องเดือดร้อน แต่หากเราจะนำความเดือดร้อนที่เราต้องเผชิญในวันๆหนึ่งมาแก้ให้ได้ทั้งหมดนั้นคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากครับ ดังนั้นการเลือกปัญหามาแก้ไขนั้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงนิยามก่อนเสมอว่าปัญหานั้นคืออะไร

ขอย้ำนะครับว่า เราจะต้องทำความเข้าถึงนิยามของปัญหาก่อน แล้วจึงค่อยถามว่า อะไรคือปัญหา

ผมขออ้างอิงนิยามปัญหาที่ค้นมาจาก Wikipedia นะครับ ซึ่งได้ให้นิยามของปัญหาไว้ดังนี้ครับ

"A problem is an obstacle which makes it difficult to achieve a desired goal, objective or purpose. It refers to a situation, condition, or issue that is yet unresolved. In a broad sense, a problem exists when an individual becomes aware of a significant difference between what actually is and what is desired."

อีกนิยามหนึ่งนะครับเป็นนิยามที่หลายๆสำนักมักจะอ้างอิงถึงก็คือ นิยามปัญหาของ Kepner and Tregoe ซึ่งเป็นนิยามที่สั้นๆได้ใจความและตรงไปตรงมา

"A problem is the gap between should performance and actual performance."

หรือแปลเป็นไทยก็คือ
ปัญหา หมายถึง ความแตกต่างหรือความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นระหว่างผลงานจริงไปจากผลงานที่ควรจะเป็น

ส่วนนิยามของ Wikipedia ผมฝากไว้ให้แปลเอาเองนะครับ แต่ใจความโดยรวม แปลแล้วก็ไม่ได้แตกต่างกัน เห็นไหมครับว่าแค่นิยามปัญหาก็เข้าใจยากซะแล้ว อย่าเพิ่งคิดจะแก้ปัญหาเลย ฮา...

ที่บอกว่าเข้าใจยากก็เพราะว่าหากเราจะนิยามปัญหาจะต้องยึดหลักดังนี้นะครับ ใครที่ยังไม่คุ้นเคยก็จะต้องยึดหลักคิดตามที่ผมบอกนะครับจะได้ไม่หลงทางเพราะมันไม่ง่ายเลยจะบอกให้ แต่หากใครคล่องแล้วเดี๋ยวมันจะเป็นไปแบบพลิ้วไหวเองครับ
1. เราคือใคร ทำงานอะไร มีหน้าที่
และความรับผิดชอบอะไร
เช่น ผมเป็นพนักงานผลิต อยู่ประจำเครื่องกลึง มีหน้าที่กลึงงานตามแบบ รับผิดชอบเรื่องคุณภาพการกลึง
2. ผลงานที่ควรจะเป็นหรือเป้าหมายของงานภายใต้หน้าที่และความรับผิดชอบของเราคืออะไร
เช่น ผลงานที่ควรจะเป็นของผมก็คือ จะต้องกลึงงานให้ดีตรงตามข้อกำหนดที่ให้มาและจะต้องทำให้ทันตามแผนด้วยนะคร๊าบ
3. แล้วปัจจุบันเราสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายหรือผลงานที่ควรจะเป็นภายใต้กรอบการทำงานของเราหรือไม่
3.1 เป้าหมายนั้นเราเคยทำได้มาก่อนหรือไม่ หากตอบว่าเคยแต่วันนี้ทำไม่ได้อย่างที่เคยเป็นมาในอดีตเราจะเรียกปัญหาดังกล่าวนี้ว่า ปัญหาครั้งคราว (Sporadic)
3.2 หากเป้าหมายนั้นเราไม่เคยทำได้มาก่อนเลย แต่เรามีความพยายามในการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น เราจะเรียกปัญหาดังกล่าวนี้ว่า ปัญหาเรื้อรัง (Chronic)
4. ความแตกต่าง (Gap) ระหว่างผลงานจริงและเป้าหมายมีค่าเท่าไหร่ แล้วเราจะวัดความแตกต่างดังกล่าวนี้ได้อย่างไร (Measurement System)

เห็นไหมครับว่าไม่ง่ายเลย หากจะนิยามปัญหาแล้วอย่าลืมทำตามขั้นตอนที่ผมบอกมานะครับ ทีนี้เราลองย้อนกลับมาที่ตอบคำถามจากตัวอย่างที่ผมไดถามค้างไว้ตอนต้นนะครับว่า อะไรคือปัญหาระหว่าง ตื่นสาย รถติด และมาทำงานไม่ทัน
ครับลองไล่ไปทีละข้อนะครับ ตามขั้นตอนที่ผมบอกไว้ อยากให้เพื่อนๆลองทำดูและได้ผลอย่างไรอย่าลืมโพสไว้ด้วยนะครับ แล้วจะรู้ว่าการนิยามปัญหานั้นไม่หมูอย่างที่คิด ฮิฮิ.....